ตามประวัติศาสตร์ในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เทคโนโลยีพัฒนาเป็นสิ่งประดิษฐ์ให้มนุษย์ที่มุ่งหวังให้ชีวิตง่ายขึ้น และได้ผูกพันกับประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์เหล่านี้ไม่ได้ราบรื่นเสมอไป และในตอนนี้จะพิจารณาว่ารูปแบบศิลปะของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศภายในและภายนอกภูมิภาคสามารถรับมือกับความตึงเครียดเหล่านี้ได้อย่างไร ด้วยการคิดค้นสิ่งที่เราเรียกว่า “เทคโนโลยีเขตร้อน” ขึ้นใหม่ กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของจึงได้เข้ามาอาศัยและท้าทายมาตรฐานของกลุ่มรักเพศตรงข้ามและผู้มีเพศสภาพตรงตามเพศที่กำหนดไปพร้อม ๆ กัน
ศิลปินชาวไทย Eda Phanlert Sriprom เอดด้า พันเลิศ ศรีพรหม (เบอร์ลิน) เป็นตัวอย่างการผสมผสานระหว่างประเพณีและนวัตกรรม โดยเธอเชี่ยวชาญเทคนิคการย้อมและเย็บจีวร ซึ่งเป็นงานที่โดยปกติแล้วสงวนไว้สำหรับพระสงฆ์เพศชายแท้เท่านั้น ผลงานของเธอยังท้าทายขนบที่กำหนดไว้ด้วยการเป็นเครื่องรางรูปอวัยวะเพศชายที่โต้ตอบได้ (ในภาษาไทยคือ ปลัดขิก) การทำเช่นนี้ ผลงานของEdaจึงสะท้อนถึงการต่อรองที่ซับซ้อนของอัตลักษณ์สำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศชาวไทย ขณะที่พวกเขาเชื่อมโยงประเพณีกับความทันสมัย จิตวิญญาณและเพศ เข้าด้วยกัน ทางด้าน shasti (โบคุม) ดีเจ/ศิลปินสร้างงานจัดวางภูมิทัศน์ทางเสียงที่ห่อหุ้มและนำทางนิทรรศการโดยใช้ระบบแมนดาลา งานจัดวางนี้ตั้งอยู่ที่มุมทั้งสี่ ซึ่งแต่ละมุมแสดงรายการเพลงที่คัดสรรมาซึ่งเพลงที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมความหลากหลายทางเพศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Shasti ใช้ประสบการณ์ในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยภายในวัฒนธรรมคลับเพื่อรำลึกความทรงจำและนำเสนอมุมมองใหม่ ๆ ให้กับผู้ชมงาน ผลงานภูมิทัศน์ทางเสียงนี้สร้างประสบการณ์กระตุ้นให้มีส่วนร่วมกับนิทรรศการโดยรวมมากขึ้น
/
Playboy / เพลย์บอย
Eda Phanlert Sriprom (เอดด้า พันเลิศ ศรีพรหม)
2024
ประติมากรรม: ผ้าจีวรนำมาใช้ใหม่สอดไส้ด้วยขวด PET ด้านใน
ได้รับความอนุเคราะห์จากศิลปิน
I dream of sounds and found us entangled / ฉันฝันถึงเสียงและพบว่าเราพันผูก
shasti
2024
งานจัดวางภูมิทัศน์ทางเสียง รายการเพลงที่ถูกคัดเลือกตั้งอยู่มุมทั้งสี่ในนิทรรศการ
ได้รับความอนุเคราะห์จากศิลปินและนักดนตรีที่เกี่ยวข้อง